ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

ยุงชอบกัดคนประเภทไหน

โพสต์ล่าสุด

รักษาโรคไข้เลือดออก

รักษา "ไข้เลือดออก"แนวใหม่ใช้ใบมะละกอคั้นน้ำกินเพิ่มเกล็ดเลือด  วันที่ 12 ก.ย. นพ.สมยศ กิตติมั่นคง หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ “เดลินิวส์” ว่า มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับการรักษาโรคไข้เลือดออกแนวใหม่ ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ โดยจากการศึกษาข้อมูลซึ่งไปเจอโดยบังเอิญ พบว่า สามารถใช้ใบมะละกอสดมาคั้นน้ำดื่มควบคู่กับการรักษาแผนปัจจุบัน จะทำให้เกล็ดเลือดของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นได้ภายใน 24-48 ชม.ช่วยลดอัตราการตายลงได้ ยังงงว่าประเทศไทยไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้ ทั้งที่ใบมะละกอบ้านเรามีเยอะแยะ อีกทั้งช่วงนี้มีคนเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจำนวนมาก นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวยังไม่เคยทดลองใช้ใบมะละกอกับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก แต่มีงานวิจัยรองรับในหลายประเทศ มีการทดลองในคนไข้แล้วได้ผล เช่น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน มาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีการจดสิทธิบัตรน้ำใบมะละกอในต่างประเทศด้วย ไม่ได้ใช้เฉพาะผู้ป่วยเกล็ดเลือดต่ำจากไข้เลือดออกเพียงอย่างเดียว แต่ใช้ในกรณีอื่นด้วย นพ.สมยศ กล่าวว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออก เกล็ดเลือดจะต่ำลง

วิธีทำน้ำตะไคร้ไล่ยุง

ตะไคร้ไล่ยุง วัสดุอุปกรณ์                                                                                                  1.     ตะไคร้                   2.     น้ำเปล่าสะอาด 3.     มีด 4.     เขียง 5.     เครื่องปั่น หรือ ครก 6.     ผ้าขาวบาง 7.     ภาชนะบรรจุ(ขวดสเปรย์) 8.     กรวย วิธีทำ 1. นำต้นตะไคร้มาล้างให้สะอาด  และหั่นซอยบางๆ 2. นำต้นตะไคร้ที่ล้างแล้วใส่ครกโขลกให้ละเอียด  หรือถ้ามีเครื่อง ปั่น  ก็ใส่เครื่องปั่น  นำมาปั่นให้ละเอียด   3. นำตะไคร้ปั่นละเอียดแล้วมาใส่ผ้าขาวบางคั้นเอาน้ำตะไคร้  แล้วนำน้ำตะไคร้ 1 ส่วน  : น้ำ 3ส่วน  ผสมกัน   4.   ก็จะได้น้ำตะไคร้ไว้สำหรับทาตามแขนหรือขา ประโยชน์ น้ำตะไคร้ไล่ยุงได้  ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ทำง่าย  ราคาถูก  ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์  รู้จักนำสมุนไพรในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

เพลงแขกขายมุ้ง

เพลงแขกขายมุ้ง มาจากอินตะเดีย......

ไข้มาลาเรีย

       มาลาเรีย Malaria (ไข้มาลาเรีย ไข้จับสั่น ไข้ป่า ) ยังคงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในบ้านเรา มักพบในบริเวณที่เป็นป่าเขา จึงพบได้แทบทุกภาคของประเทศ  ในบ้านเราคนที่มีไข้หนาวสั่นมากหรือมีไข้นานหลายวัน เมื่อตรวจร่างกายไม่พบอาการอย่างอื่นชัดเจน หรือพบเพียงตับโตม้ามโตพึงนึกถึงโรคนี้กับไข้ไทฟอยด์ ไว้ก่อนเสมอ     เชื้อที่ทำให้เป็นไข้มาลาเรียมีอยู่หลายชนิด แต่ที่สำคัญในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม (Plasmodium falciparum) กับ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ (Plasmodium vivax) ชนิดฟาลซิพารัม พบได้ประมาณ 70-90% มักมีปัญหาดื้อยา และมีโรคแทรกซ้อนได้มาก เช่น ดีซ่าน มาลาเรียขึ้นสมอง, ดีซ่าน, ไตวาย ฯลฯ เป็นอันตรายถึงตายได้    สาเหตุ เกิดจากเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือโปรโตซัว (Protozoa) เช่นเดียวกับบิดอะมีบา มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค คือต้องถูกยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจึงจะเป็นโรค หรือไม่ก็อาจเกิดจาก การได้รับเลือดจากคนที่มีเชื้ออยู่    ระยะฟักตัว ชนิดพลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม 8-12 วัน (สั้นที่สุด 5 วัน) ชนิดพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ 10-15 วัน (อาจนานหลายเดือน) ถ้าเกิดจากการให้เลือด อาจมีอ

โรคไข้เลือดออก

      โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุง ซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออก นอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรค ไข้เลือดออก ได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย อาการของ ไข้เลือดออก           อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ           1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40, มักมีหน้าแดง, โดยมักไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอเด็กโตอาจมีอาการ ปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน           2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล, เลือดออกตามไรฟัน, เลือดออกในกระเพาะ  โดยจะมีอาการ

ยุงเพศเมีย

ยุงเพศเมีย (Female)         ยุงเมื่อลอกคราบจากระยะดักแด้ก็จะผสมพันธุ์ทันที ยุงเพศเมียจะผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียวและน้ำเชื้อของเพสผู้ จะเก็บไว้ในถุงเก็บน้ำเชื้อ (Spematheca) ที่อยู่ภายในตัวยุงเพศเมีย ยุงเพศเมียจะดูดกินเลือด เพื่อจะพัฒนาให้เจริญ สำหรับในการวางไข่ครั้งต่อไป ยุงเมื่อดูดเลือดกินอิ่ม แล้วก็จะวางไข่ได้ 5 - 6 ครั้ง จะมีไข่ประมาณ 200 - 300 ฟอง ในการดูเลือดแต่ละครั้งสามารถดูดกินเลือดได้ 2- 2.58 มิลิกรัม หรือ 2 เท่าของน้ำหนักตัวก่อนดูดเลือด ยุงที่ดูดเลือดจะมีแต่ยุงตัวเมียเท่านั้นนะครับ