ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรคไข้เลือดออก

      โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุง ซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออก นอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรค ไข้เลือดออก ได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย

อาการของ ไข้เลือดออก
          อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ
          1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40, มักมีหน้าแดง, โดยมักไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอเด็กโตอาจมีอาการ ปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน
          2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล, เลือดออกตามไรฟัน, เลือดออกในกระเพาะ  โดยจะมีอาการ
อาเจียนเป็นเลือด หรือ ถ่ายดำ, จุดเลือดออกตามตัว
          3. ตับโต
          4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อค  :  มักจะเกิดช่วงไข้จะลดโดย ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก  ก่อนจะมีอาการช็อค ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ

 แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก

           โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไป การดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้
          1. ให้ยาลดไข้, เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ Paracetamol ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกร็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร
          2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วย ไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร  และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อยๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือ  มีภาวะเลือดออก  เช่น อาเจียน หรือ ถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด
          3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วย ไข้เลือดออก มีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย  มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
          4. ตรวจนับจำนวนเกร็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะเพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย

 การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก

          เนื่องจาก ไข้เลือดออก ระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่า มีคนเป็น ไข้เลือดออก ด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง  รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่ง  เพื่อ

ป้องกันเป็น ไข้เลือดออก

          นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออก ได้

การป้องกันโรค ไข้เลือดออก

          ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีทำน้ำตะไคร้ไล่ยุง

ตะไคร้ไล่ยุง วัสดุอุปกรณ์                                                                                                  1.     ตะไคร้                   2.     น้ำเปล่าสะอาด 3.     มีด 4.     เขียง 5.     เครื่องปั่น หรือ ครก 6.     ผ้าขาวบาง 7.     ภาชนะบรรจุ(ขวดสเปรย์) 8.     กรวย วิธีทำ 1. นำต้นตะไคร้มาล้างให้สะอาด  และหั่นซอยบางๆ 2. นำต้นตะไคร้ที่ล้างแล้วใส่ครกโขลกให้ละเอียด  หรือถ้ามีเครื่อง ปั่น  ก็ใส่เครื่องปั่น  นำมาปั่นให้ละเอียด   3. นำตะไคร้ปั่นละเอียดแล้วมาใส่ผ้าขาวบางคั้นเอาน้ำตะไคร้  แล้วนำน้ำตะไคร้ 1 ส่วน  : น้ำ 3ส่วน  ผสมกัน   4.   ก็จะได้น้ำตะไคร้ไว้สำหรับทาตามแขนหรือขา ประโยชน์ น้ำตะไคร้ไล่ยุงได้  ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ทำง่าย  ราคาถูก  ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์  รู้จักนำสมุนไพรในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ยุงชอบกัดคนประเภทไหน

ไข้มาลาเรีย

       มาลาเรีย Malaria (ไข้มาลาเรีย ไข้จับสั่น ไข้ป่า ) ยังคงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในบ้านเรา มักพบในบริเวณที่เป็นป่าเขา จึงพบได้แทบทุกภาคของประเทศ  ในบ้านเราคนที่มีไข้หนาวสั่นมากหรือมีไข้นานหลายวัน เมื่อตรวจร่างกายไม่พบอาการอย่างอื่นชัดเจน หรือพบเพียงตับโตม้ามโตพึงนึกถึงโรคนี้กับไข้ไทฟอยด์ ไว้ก่อนเสมอ     เชื้อที่ทำให้เป็นไข้มาลาเรียมีอยู่หลายชนิด แต่ที่สำคัญในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม (Plasmodium falciparum) กับ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ (Plasmodium vivax) ชนิดฟาลซิพารัม พบได้ประมาณ 70-90% มักมีปัญหาดื้อยา และมีโรคแทรกซ้อนได้มาก เช่น ดีซ่าน มาลาเรียขึ้นสมอง, ดีซ่าน, ไตวาย ฯลฯ เป็นอันตรายถึงตายได้    สาเหตุ เกิดจากเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือโปรโตซัว (Protozoa) เช่นเดียวกับบิดอะมีบา มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค คือต้องถูกยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจึงจะเป็นโรค หรือไม่ก็อาจเกิดจาก การได้รับเลือดจากคนที่มีเชื้ออยู่    ระยะฟักตัว ชนิดพลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม 8-12 วัน (สั้นที่สุด 5 วัน) ชนิดพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ 10-15 วัน (อาจนานหลายเดือน) ถ้าเกิดจากการให้เลือด อาจมีอ