ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ไข้มาลาเรีย

       มาลาเรีย Malaria (ไข้มาลาเรีย ไข้จับสั่น ไข้ป่า ) ยังคงเป็นโรคที่พบได้บ่อยในบ้านเรา มักพบในบริเวณที่เป็นป่าเขา จึงพบได้แทบทุกภาคของประเทศ  ในบ้านเราคนที่มีไข้หนาวสั่นมากหรือมีไข้นานหลายวัน เมื่อตรวจร่างกายไม่พบอาการอย่างอื่นชัดเจน หรือพบเพียงตับโตม้ามโตพึงนึกถึงโรคนี้กับไข้ไทฟอยด์ ไว้ก่อนเสมอ
    เชื้อที่ทำให้เป็นไข้มาลาเรียมีอยู่หลายชนิด แต่ที่สำคัญในบ้านเรามี 2 ชนิด คือ พลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม (Plasmodium falciparum) กับ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ (Plasmodium vivax) ชนิดฟาลซิพารัม พบได้ประมาณ 70-90% มักมีปัญหาดื้อยา และมีโรคแทรกซ้อนได้มาก เช่น ดีซ่าน มาลาเรียขึ้นสมอง, ดีซ่าน, ไตวาย ฯลฯ เป็นอันตรายถึงตายได้
  
สาเหตุ

เกิดจากเชื้อมาลาเรีย ซึ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียว หรือโปรโตซัว (Protozoa) เช่นเดียวกับบิดอะมีบา มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค คือต้องถูกยุงที่มีเชื้อมาลาเรียกัดจึงจะเป็นโรค หรือไม่ก็อาจเกิดจาก การได้รับเลือดจากคนที่มีเชื้ออยู่
   ระยะฟักตัว
ชนิดพลาสโมเดียม ฟาลซิพารัม 8-12 วัน (สั้นที่สุด 5 วัน) ชนิดพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ 10-15 วัน (อาจนานหลายเดือน) ถ้าเกิดจากการให้เลือด อาจมีอาการเกิดขึ้นเร็วกว่านี้
  
อาการ

อาการจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อโดยถูกยุงก้นปล่องกัดประมาณ 10-14 วัน (แต่อาจนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็ได้) ไข้ที่เกิดจากเชื้อ พี.ฟาลซิปารัมจะเกิดทุก 2 วัน ส่วนไข้ที่เกิดจากเชื้อ พี.ไวแวกซ์จะเกิดทุก 3 วัน ใน 2-3 วันแรก อาจมี
อาการปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัวคล้าย ไข้หวัดใหญุ่ ต่อมาจึงจะมีอาการไข้จับสั่นเป็นเวลา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของมาลาเรีย อาการจับไข้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
     1. ระยะหนาว มีอาการหนาวสั่นมากและไข้เริ่มขึ้น ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ระยะนี้กิน
         เวลา 20-60 นาที
     2. ระยะร้อน ไข้ขึ้นสูงประมาณ 40 ํซ. ปวดศีรษะมาก อาจปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา หน้าแดง ตาแดง กระสับกระส่าย
         เพ้อ กระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็ว อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ในเด็กอาจชักได้ กินเวลา
         ประมาณ 2 ชั่วโมง (อาจนาน 3-8 ชั่วโมง)
     3. ระยะเหงื่อออก จะมีเหงื่อออกชุ่มทั้งตัว ไข้จะลดลงเป็นปกติ แต่จะรู้สึกอ่อนเพลีย และหลับไป กินเวลาประมาณ
        1 ชั่วโมง ผู้ป่วยมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ มักจับไข้วันเว้นวัน หรือทุก 48 ชั่วโมง เวลาไม่จับไข้จะรู้สึกสบายดี มักจะคลำ
        ได้ม้ามโตในปลายสัปดาห์ที่ 2 ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีไข้วันเว้นวันอยู่ประมาณ 6 สัปดาห์ถึง 3 เดือน (อาจนานกว่า-
         นั้น) แล้วจะหายไปเอง ผู้ป่วยที่ไม่ได้ รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง แม้ว่าไข้จะหายไปแล้ว แต่ก็อาจกลับเป็นได้
         ใหม่หลังจากหายไป 2-3 สัปดาห์ หรือ 2-3 เดือน แต่อาการจะน้อยกว่าครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการกำเริบเป็น ๆ
         หาย  ๆ บ่อย และมักไม่มีโรคแทรกร้ายแรง บางคนอาจกินเวลานานถึง 2-3 ปี กว่าจะหายขาด จึงเรียกว่า
         "มาลาเรียเรื้อรัง"
       ผู้ป่วยมาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม มักจับไข้ทุกวันหรือทุก 36 ชั่วโมง แต่อาจจับไม่เป็นเวลา อาจจับทั้งวัน หรือวันละ
    หลายครั้ง ระยะไม่จับไข้ก็ยังรู้สึกไม่ค่อยสบาย และอาจมีไข้ต่ำ ๆ อยู่เรื่อย บางรายอาจมีอาการปวดท้อง ท้องเดินร่วม
    ด้วย ม้ามจะโตในวันที่ 7- 10 ของไข้ ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ไข้จะลงภายใน 3-5 วัน ถ้ารักษาไม่ถูกต้อง อาจมี
    โรคแทรกร้ายแรงถึงตายได้ จึงเรียกว่า "มาลาเรียชนิดร้ายแรง"
 
 สิ่งตรวจพบ

ไข้ประมาณ 40 ํซ. หน้าแดง ตาแดง ม้ามโต (คลำได้ในปลายสัปดาห์ที่ 2 หลังมีไข้) ตับอาจโต อาจมีเริมที่ริมฝีปาก อาจมีอาการซีดเหลือง หรือปัสสาวะแดงเข้ม หรือปัสสาวะดำเหมือนน้ำโคล่า แต่ก็อาจไม่พบอะไรมากนอกจากไข้ ในเด็กที่เป็นเรื้อรัง อาจมีลักษณะพุงโรก้นปอด ขาดอาหาร ในรายที่เป็นมาลาเรียขึ้นสมอง จะมีอาการเพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติ (ซึ่งชาวบ้านบางแห่งยังเข้าใจว่าเป็นอาการของผีเข้า พาไปรดน้ำมนต์ไล่ผี และตายลงอย่างน่าอนาถ)

  อาการแทรกซ้อน

พบในมาลาเรียชนิดฟาลซิพารัม มักเกิดกับคนที่มีภูมิต้านทานน้อย เช่น ขาดอาหาร ร่างกายอ่อนแอ หญิงตั้งครรภ์ คนที่ไม่เคยอยู่ในแดนมาลาเรีย ฯลฯ หรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง  โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ มาลาเรียขึ้นสมอง (หมดสติหรือชัก), มาลาเรียลงตับหรือตับอักเสบ (ดีซ่าน), มาลาเรียลงกระเพาะลำไส้ (ท้องเดิน เป็นบิดถ่ายเป็นมูกเลือด), มาลาเรียลงไตหรือภาวะไตวาย (ปัสสาวะออกน้อย หรือไม่ออกเลย), ปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema มีอาการหอบ ฟังปอดได้ยินเสียงกรอบแกรบ), ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (ซีดและปัสสาวะดำ), ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ภาวะการเสียสมดุลน้ำ และ
อิเล็กโทรไลต์, โรคไตเนโฟรติก  เป็นต้น ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจเกิดเพียงอย่างเดียว หรือหลายอย่างพร้อมกัน เป็นอันตรายถึงตายได้ถ้าเกิดในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้แท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีทำน้ำตะไคร้ไล่ยุง

ตะไคร้ไล่ยุง วัสดุอุปกรณ์                                                                                                  1.     ตะไคร้                   2.     น้ำเปล่าสะอาด 3.     มีด 4.     เขียง 5.     เครื่องปั่น หรือ ครก 6.     ผ้าขาวบาง 7.     ภาชนะบรรจุ(ขวดสเปรย์) 8.     กรวย วิธีทำ 1. นำต้นตะไคร้มาล้างให้สะอาด  และหั่นซอยบางๆ 2. นำต้นตะไคร้ที่ล้างแล้วใส่ครกโขลกให้ละเอียด  หรือถ้ามีเครื่อง ปั่น  ก็ใส่เครื่องปั่น  นำมาปั่นให้ละเอียด   3. นำตะไคร้ปั่นละเอียดแล้วมาใส่ผ้าขาวบางคั้นเอาน้ำตะไคร้  แล้วนำน้ำตะไคร้ 1 ส่วน  : น้ำ 3ส่วน  ผสมกัน   4.   ก็จะได้น้ำตะไคร้ไว้สำหรับทาตามแขนหรือขา ประโยชน์ น้ำตะไคร้ไล่ยุงได้  ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ทำง่าย  ราคาถูก  ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์  รู้จักนำสมุนไพรในครัวเรือนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ยุงชอบกัดคนประเภทไหน